วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

22(twenty two) - Taylor Swift


22(twenty two) - Taylor Swift








*************************************
I    LOVE   YOU    TAYLOR SWIFT
*************************************

More Version

Billboard Music Awards 2013











ทำไมถึงเลือกเพลงนี้
               
                  เพลงนี้เป็นเพลงสามารถสื่อถึงความรู้สึกว่ามีทั้งความสุข มีอิสระ และทุกๆอย่างมันจะต้อง

ไปได้สวย และยามเครียดเมื่อไหรเราก็จะทิ้งเรื่องราวต่างๆแล้วมาฟังเพลง เพลงนี้ทำให้เรารู้สึกดี 

ขึ้นมาทันใด ด้วยเนื้อหาที่เข้าใจความรู้สึกและจังหวะดนตรีที่ลงตัวจึงทำให้เลือกเพลงนี้


ชอบเพลงนี้เพราะอะไร
             
                 ที่ชอบเพลงนี้เพราะเนื้อหาสื่อถึงความรู้สึกว่า กำลังสนุก มีทั้งความสุข มีอิสระ และได้ปลด

ปล่อยความเบื่อหน่าย เมื่อเพลงนี้ได้ถูกปล่อยให้ได้ฟัง และได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็หลงรักเพลงนี้ขึ้นมา

ในทันทีเมื่อได้ฟังเพราะจังหวะดนตรีที่น่ารักๆสไตล์ Pop/Dance  และ Taylor Swift ก็เป็นศิลปินใน

ดวงใจมานแล้วจึงทำให้เราชอบเพลงนี้มากๆ



I    LOVE   YOU    TAYLOR SWIFT



ขอขอบคุณ Music Video จาก Youtube




วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปัจจุบันของอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารข้อมูล (ระบบโทรศัพท์)


ปัจจุบันของอินเทอร์เน็ต

เสพติดอินเตอร์เน็ต...เรื่องใกล้ตัว




ไม่ว่าระหว่างการเดินทาง ทำงานหรือแม้แต่บนโต๊ะกินข้าว 
สิ่งที่เห็นกันจนชินตาก็คือ ภาพคนหยิบ มือถือ และ แท็บเล็ต ได้ทุกที่ทุกเวลา 
อุปกรณ์พวกนี้กลายเป็น อวัยวะที่ 33 ของเราไปซะแล้ว 
ไม่ใช่แค่ไทยนะ แต่เป็นกันทั้งโลกเลยล่ะ 

มีผลสำรวจล่าสุดในไทยและต่างประเทศที่มีคำตอบใกล้เคียงกันจนน่าตกใจ 

เชื่อรึไม่ว่าสิ่งแรกที่วัยรุ่นสมัยนี้ 90% ต้องทำเมื่อลืมตาขึ้นมาตอนเช้าก็คือ หยิบมือถือขึ้นมาเช็กความเป็นไปบนโลกออนไลน์ ถ้าไม่ได้ใช้ก็จะเกิดอาการกระวนกระวาย เหมือนอะไรขาดหายไป เรียกว่าเกิดอาการเสพติดอินเทอร์เน็ตก็ไม่ผิดเท่าไหร่ 

แต่วัยรุ่นยังพอ คุยกันเข้าใจ สอนกันได้ ถ้าเกิดกับเด็กเล็กๆ ล่ะ อันนี้น่าห่วง เพราะพ่อแม่หลายคนก็นิยมโยนแท็บเล็ตให้เด็กเล่นตั้งแต่ยังเล็กๆ ไม่กี่ขวบ ของอย่างนี้ไม่ต้องให้ใครสอน เด็กก็สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง แถมเป็นเร็วกว่าผู้ใหญ่บางคนซะอีก 

หากครอบครัวไหนดูแลใกล้ชิดปัญหา ก็จะน้อยหน่อย อย่างเคสล่าสุดในประเทศอังกฤษ เด็กอายุ 3 ขวบมีอาการเสพติดอินเทอร์เน็ต จนพ่อแม่ต้องพาเข้ามาบำบัด เพราะมัวแต่ปล่อยให้ลูกเล่นแท็บเล็ตเป็นเวลาวันละหลายชั่วโมง กว่าจะรู้ตัวก็สายไปซะแล้ว 

พฤติกรรมก็สังเกตง่ายๆ คือ เด็กจะอยู่กับหน้าจอแท็บเล็ตตลอดเวลา พอถูกแยกจากเครื่องก็จะเกิดอาการงอแง ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตัวเองได้ หากปล่อยให้เด็กเติบโตกับอาการนี้ก็มีแนวโน้มที่จะทำตัวแปลกแยกจากคนอื่น

นี่ยังไม่นับปัญหาทางกายภาพอีก เช่น การจิ้มจออย่างเดียว ทำให้กล้ามเนื้อมือพัฒนาได้ไม่เต็มที่ทุกส่วน ซึ่งส่งผลต่อการเขียนโดยตรง หรือการมองหน้าจอในระยะใกล้เป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องสายตาอีก 

สิ่งที่ผู้ปกครองต้องย้อนกลับมาตัวเองจำเป็นรึไม่ ที่ต้องให้เด็กใช้เทคโนโลยีก่อนวัยอันควร 
ค่อยๆ เสริมพัฒนาการที่จำเป็นก่อนดีกว่ารึเปล่าเป็นสิ่งที่ต้องคิด 

อ้างอิง 


........................................................................



การสื่อสารข้อมูล(ระบบโทรศัพท์)



               ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้โลกทุกวันนี้กลายเป็นโลกไร้พรมแดน ซึ่งทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายกว่าเดิม โดยสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารนั้นกลายเป็นเรื่องง่ายนั่นก็คือ เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายยุค 3G และ 4G LTE ที่เราทุกคนเคยได้ยินกันในปัจจุบัน แต่จะมีซักกี่คนที่เข้าใจความหมายของเทคโนโลยีนี้ว่าตกลงแล้วคืออะไร? ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีนี้ เราควรทราบถึงวิวัฒนาการของเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์มือถือก่อนที่จะมาเป็น 3G และ 4G LTE ในยุคปัจจุบัน


ซึ่งในยุค 4G นี้ถือว่าเป็นยุคที่ถูกพัฒนาก้าวมาอีกขั้นโดยมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากกว่ายุค 3G ที่ช่วยตอบสนองการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตไร้สายให้ดีขึ้น ทำให้สามารถส่งรับข้อมูลได้รวดเร็วกว่าเดิม และสามารถใช้โปรแกรมมัลติมีเดียได้อย่างเต็มที่ เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Video Conference ในระดับความคมชัดแบบ HD, โหลดหนัง ฟังเพลง โดยไม่สะดุด และยังสามารถอัพโหลด - ดาวน์โหลดข้อมูลที่มีขนาดไฟล์ใหญ่ๆ ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่นาน นอกจากนี้เทคโนโลยี 4G LTE ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก ทำให้สามารถใช้งานบนมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ในส่วนของประเทศไทยเริ่มมีบางค่ายที่นำเทคโนโลยี 4G LTE มาทดลองใช้ ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานประเทศไทยคงจะก้าวเข้าสู่ยุค 4G ต่อไป

การเปรียบเทียบความเร็วระหว่าง 3G และ 4G LTE



อ้างอิง



....................................................................................

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ (Parity Bit) & Moore's law



^_^ บิตตรวจสอบ (Parity  Bit) ^_^

บิตตรวจสอบ (Parity bit)  

               บิตภาวะคู่หรือคี่หมายถึง บิตที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล ถ้าเป็น 1 ก็เรียกว่า ภาวะคี่ ถ้าเป็น 0 ก็เป็น ภาวะคู่แม้ว่าเลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตราความผิดพลาดต่ำ เพราะมีค่าความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 1 เท่านั้น แต่ก็อาจจะเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่อยความจำ ดังนั้น บิตตรวจสอบ จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ซึ่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลที่จะถูกจัดเก็บลงไปในคอมพิวเตอร์ 

 สำหรับบิตตรวจสอบ จะมีวิธีการตรวจสอบอยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ            

            1.การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Event Parity)  
       
            2.การตรวจสอบบิตภาวะคี่ ( Odd Parity )

-----------------------------------------------------------------------

+_+ Moore's law +_+

Moore's law คืออะไร

                กฏของมัวร์ หรือ Moore's   law  คือ กฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว มีความว่า จํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในทุกๆสองปี  Gordon E. Moore ผู้ก่อตั้ง Intel  ซึ้งได้อธิบายแนวโน้มไว้ในรายงานของเขาในปี 1965 จึงพบว่ากฎนี้แม่นยํา อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก อุตสาหกรรม semiconductor  นํากฎนี้ไปเป็นเป้าหมายในการวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมได้ moore's law เป็น ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวมจำนวนของ ทรานซิสเตอร์ ต่อตารางนิ้วบน แผงวงจรรวม มีสองเท่าทุกปีตั้งแต่วงจรรวมถูกคิดค้น Moore predicted that this trend would continue for the foreseeable future. มัวร์ที่คาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในอนาคตอันใกล้ ในปีถัดไป, การก้าวชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ความหนาแน่นของข้อมูลได้เท่าประมาณทุก 18 เดือน

                   กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ (Moore’s law) ขึ้น  ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม



กฎของมัวร์ (Moore's Law)   

            ในปี .. 2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งทีประดิษฐ์ขึ้นมาว่า "ทรานซิสเตอร์" แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทนหลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ


             .. 2508 อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวได้แพร่หลาย มีบริษัทผู้ผลิตทรานซิสเตอร์จำนวนมากการประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์  กว้างขวางขึ้น มีการนำมาใช้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ตั้งแต่ของใช้ในบ้าน จึงถึงในโรงงานอุตสาหกรรม

             การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ    planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบ เทคโนโลยีแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐาน พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี .. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์
        
               คําว่า กฎของมัวร์นั้นถูกเรียกโดยศาสตราจารย์   Caltech   นามว่า    Carver Mead
ซึ่งกล่าวว่าจํานวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วงปี 1965  ต่อมามัวร์จึงได้
เปลี่ยนรูปกฎ เพิ่ขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1975





วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัสแทนข้อมูล รหัส ASCII และ รหัส Unicode


รหัส ASCII และ รหัส Unicode




ASCII
         เดิมการแทนรหัสฐานสองด้วยพยัญชนะในภาษาต่างๆเป็นการกำหนดกันเอง ขึ้นอยู่กับว่า ใครพัฒนาขึ้นมาทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดไม่สามารถส่งผ่านกันได้  เพราะใช้รหัสในเลขฐานสองไม่เหมือนกัน ดังนั้นเพื่อที่จะให้สื่อสารกันได้ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานของรหัสขึ้น สำหรับภาษาอังกฤษ เรียกว่า รหัสแอสกี้ (American Standard Code Interchange,ASCII)

รหัสที่เป็นมาตรฐาน คือ รหัส ASCII             
          American Standard Code For Information Interchange (ASCII) อ่านว่า แอส-กี้ เป็นรหัสที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANSI อ่านว่า แอน-ซาย) เรียกว่า ASCII Code ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO) ขนาด 7 บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128 รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111) โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96 รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่น รหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนมนรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย ดังนั้น ASCII Code จึงเป็นรหัสที่เขียนได้ 3 แบบ เช่นอักษร A สามารถแทนเป็นรหัสได้ดังนี้
สัญลักษณ์
เลขฐานสิบ
เลขฐานสอง
เลขฐานสิบหก
A
65
100 0001
4 1
รหัส ASCII สามารถใช้แทนข้อมูลอักขระและคำสั่งได้มากขึ้น และมีการขยายเป็นรหัสแบบ 8 บิท

ตารางรหัส ASCII แทนตัวอักษร


















วิธีการอ่านค่าจากตารางแอสกี

1. ชี้ตรงตัวอักษรที่ต้องการแทนรหัส เช่น ก
2. อ่านค่ารหัสในตารางแนวตั้งตรงตำแหน่ง b7 b6 b5 และ b4 ค่าที่ได้ คือ 1010
3. อ่านค่ารหัสในตารางแนวนอนตรงตำแหน่ง b3 b2 b1 และ b0 ค่าที่ได้ คือ 0001
4. ดังนั้นรหัสแทนข้อมูลของตัวอักษร ก คือ 1010 0001

***************************************************************

Unicode

        ยูนิโค๊ด คือ รหัสคอมพิวเตอร์ใช้แทนตัวอักขระ สามารถใช้แทน ตัวอักษร,ตัวเลข,สัญลักษณ์ต่างๆ ได้มากกว่ารหัสแบบเก่าอย่าง  ASCII ซึ่งเก็บตัวอักษรได้สูงสุดเพียง 256 ตัว(รูปแบบ) โดย Unicdoe รุ่นปัจจุบันสามารถเก็บตัวอักษรได้ถึง 34,168 ตัวจากภาษาทั้งหมดทั่วโลก 24 ภาษา โดยไม่สนใจว่าเป็นแพลตฟอร์มใด ไม่ขึ้นกับโปรแกรมใด หรือภาษาใด unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม 
เช่น Apple, HP, IBM, Microsoft, Unix ฯลฯ และเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการในการทำ ISO /IEC 10646 ดังนั้น Unicode จึงถือเป็นมาตรฐานในการกำหนดรหัส สำหรับทุกตัวอักษร ทุกอักขระ  unicode ทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในหลายๆ ระบบ ข้ามแพลตฟอร์มไปมา หรือข้ามโปรแกรมได้อย่างสะดวก โดยไร้ข้อจำกัด Unicode ต่างจาก ASCII คือ ASCII เก็บ byte เดียว แต่ Unicode เก็บ 2 byte ซึ่งข้อมูล 2 byte เก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาล สามารถเก็บข้อมูลได้มากมายหลายภาษาในโลก 
อย่างภาษาไทยก็อยู่ใน Unicode นี้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นรหัสภาษาไทยเอาไปเปิดในภาษาจีน ก็ยังเป็นภาษาไทยอยู่ ไม่ออกมาเป็นภาษาจีน เพราะว่ามี code ตายตัวอยู่ว่า code นี้จองไว้สำหรับภาษาไทย แล้ว code ตรงช่วงนั้นเป็นภาษาจีน ตรงโน่นเป็นภาษาญี่ปุ่น จะไม่ใช้ที่ซ้ำกัน เป็นต้น

Unicode คืออะไร ยูนิโค๊ด คือ รหัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข และ สัญลักษณ์ต่างๆ
ตัวอย่าง Unicode


***************************************************************
CHATNARONG WONGMANEESUP

แทนด้วยรหัส ASCII  ดังนี้

0100  0011   C
0100  1000   H
0100  0001   A
0101  0100   T
0100  1110   N
0100  0001   A
0101  0010   R
0100  1111   O
0100  1110   N
0100  0111   G
0100  0000  SPACE
0101  0111   W
0100  1111   O
0100  1110   N
0100  0111   G
0100  1101   M
0100  0001   A
0100  1110   N
0100  0101   E
0100  0101   E
0101  0011   S
0101  0101   U
0101  0000   P
ใช้พื้นที่จัดเก็บจำนวน 23 byte


แทนด้วยรหัส ASCII  ดังนี้

010000110100100001000001010101000100111001000001010100100100111101001110010001110101011101001111010001110010001110100110101000001010011100100010101000101010100110101010101010000

ใช้พื้นที่จัดเก็บจำนวน 177 bit  22 byte



ขอบคุณครับ 
THANK YOU





วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์ Age of the computer.


*-*-*-*-*-ยุคของคอมพิวเตอร์*-*-*-*-*
   Age of the computer.



The Computer History Museum

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์คอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
                  อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)





คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
                  คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน






คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 
                 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย ๆ ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง


  


                                                             
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
                  คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง



คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
                  คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence  : AI)   ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง





-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*




วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประวัติคอมพิวเตอร์


    *-*-*-*-*ประวัติคอมพิวเตอร์*-*-*-*-*-
History of Computer


CHARLES BABBAGE
บิดาแห่งคอมพิวเตอร์



                    คอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการมาจากนิ้วมือมนุษย์ ที่ใช้นิ้วในการนับตัวเลข ใช้ไม้ขีดเขียนบนพื้นดิน หรือใช้ลูกหินมาเรียงต่อกัน ต่อมาได้มีการพัฒนาขึ้นด้วยการใช้เชือกรอยต่อกัน จัดเรียงให้เป็นระบบ (คล้ายกับลูกคิด) หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ในการนับ ลักษณะใหญ่ที่คิดกันมักจะเป็นเครื่องยนต์ที่มีกลไก (Mechanics) ที่ประกอบด้วยฟันเฟื่อง รอกและคาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กึ่งอัตโนมัติ ที่สามารถคำนวณขั้นพื้นฐานได้ ไม่ว่าจะเป็น บวก ลบ คูณ หาร

                    ปี 1822 ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เครื่อง Difference Engine นี้สร้างไม่เสร็จ เพราะแบบเบจได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณ จึงล้มเลิก และไปคิดเครื่องใหม่ที่ชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ (Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้




ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู (Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่อง Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชั่นหน้าที่หลายอย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ทำให้ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ถูกขนานนามให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้นมา
 


LADY AUGUSTA ADA BYRON

        
             เอดา อายุ 18 ปี เอดาได้ไปงานเลี้ยงอาหารค่ำที่บ้านของ Mrs. Somerville จนได้พบกับ Charles Babbage (บิดาของคอมพิวเตอร์) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับอย่างสูง เอดาได้สนใจในแนวคิดของ Babbage มากๆจนอาสา เป็นผู้ช่วยงานและพัฒนา โดยสิ่งที่เธอทำคือการคิดสร้างภาษา(Progrmming)สำหรับเครื่อง Analytical Engine จากนั้นก็พัฒนาและคิดค้นแนวคิดต่างๆมาเรื่อยๆ
                   ในยุคนั้น ผู้หญิงอย่างเอดาก็ไม่ได้รับการยกย่องในงานทางวิทยาศาสตร์มากนัก แต่เธอก็ได้กำลังจากจากสามี ที่คอยให้ความเห็นอกเห็นใจ เอาใจช่วยในการฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคต่างๆ จนเธอได้การยอมรับในภายหลัง  เอดาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเมื่อปี ค.ศ.1852 ต่อมาปี ค.ศ.1979 ได้มีการตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบไร้คนควบคุมเครื่องหนึ่งซึ่งพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกาว่า "เอดา" เพื่อเป็นเกียรติให้กับเธอด้วย
                   
เอดาจึงเป็นคนแรกที่มีแนวคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการคำนวณ และไม่เพียงแต่คำนวณได้เท่านั้น เอดายังสามารถคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าได้อีกว่า ในอนาคตคอมพิวเตอร์จะสามารถนำมาใช้สร้างเสียงดนตรีและช่วยกระบวนการ อุตสาหกรรมได้



HERMAN HOLLRITH



        ค.ศ. 1884 : ดร.เฮอร์มาน ฮอลเลอริธ (Dr.Herman Hollerith) นักสถิติชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดประดิษฐ์บัตรเจาะรูสำหรับเก็บข้อมูล โดยได้แนวคิดจากบัตรควบคุมการทอผ้าของ Jacquard และวิธีการหนีบตั๋วรถไฟของเจ้าหน้าที่รถไฟ นำมาดัดแปลงและประดิษฐ์เป็นบัตรเก็บข้อมูลขึ้น และทำการสร้างเครื่องคำนวณไฟฟ้าที่สามารถอ่านบัตรที่เจาะได้ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
           เมื่อปี ค.ศ. 1880 สำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริการได้ทำการสำรวจสำมะโนประชากรโดยใช้แรงงานคนในการประมวลผล ต้องใช้เวลาถึง 7 ปีครึ่งยังไม่แล้วเสร็จ ข้อมูลที่ได้ไม่แน่นอนและไม่ค่อยถูกต้อง ต่อมา ค.ศ. 1890 สำนักงานฯ จึงได้ว่าจ้าง ฮอลเลอริธ มาทำการประมวลผลการสำรวจ ปรากฏว่าเมื่อใช้เครื่องทำตารางข้อมูล (Tabulating machine) และหีบเรียงบัตร (Sorting) ของฮอลเลอริธแล้ว ใช้เวลาในการประมวลผลลดลงถึง 3 ปี
           ค.ศ. 1896 : ฮอลเลอริธ ได้ตั้งบริษัทผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์การประมวลผลด้วยบัตรเจาะรู และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machines Corporation) ในปี     ค.ศ. 1924



เครื่องเจาะบัตรของ
Herman Hollerith

1937 : โฮเวิร์ด เอช ไอเคน (Professor Howard H. Aiken) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องคำนวณตามหลักการของแบบเบจได้สำเร็จ โดยนำเอาแนวคิดของ Jacquard และ Hollerith มาใช้ในการสร้างและได้รับการสนับสนุนจากวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1943 ในชื่อว่า Automatic Sequence Controlled Calculator (ASCC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า MARK I Computer นับเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งเครื่อง จัดเป็น Digital Computer และเป็นเครื่องที่ทำงานแบบ Electromechanical คือเป็นแบบ กึ่งไฟฟ้ากึ่งจักรกล
          การส่งคำสั่งและข้อมูลเข้าไปในเครื่อง ใช้เทปกระดาษเจาะรู เครื่องมีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ประมาณ 7 แสนชิ้น ใช้สายไฟยาวกว่า 500 ไมล์ ความยาวเครื่อง 55 ฟุต สูง 8 ฟุต กว้าง 3.5 ฟุต
          ใช้เวลาในการบวกหรือลบประมาณ 1/3 วินาที การคูณ 5 วินาที การหาร 16 วินาที นับว่าช้ามากถ้าเทียบกับปัจจุบัน เครื่อง MARK I ถูกนำมาใช้ทำงานตลอดวันตลอดคืนนานถึง 15 ปีเต็ม MARK I ยังไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามแนวความคิดในปัจจุบันอย่างแท้จริง เป็นเพียงเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในขณะนั้น
          ค.ศ. 1943 : เจ เพรสเปอร์ เอ็คเคิร์ท (J. Presper Eckert) นักวิศวกรและ จอห์น มอชลี (John Mauchly) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้ช่วยกันสร้างเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1946 นับเป็น เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก เรียกว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator)
ใช้หลอดสุญญากาศมากกว่า 18,000 หลอด ติดตั้งในห้องขนาด 20 X 40 ฟุต ตัวเครื่องทั้งระบบหนักเกือบ 30 ตัน บวกเลขได้ 5,000 ครั้งต่อวินาที การคูณและหารทำได้เร็ว 6 ไมโคร วินาที นับว่าเร็วขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบการทำงานกับ MARK I แล้ว ถ้า ENIAC ทำงาน 1 ชั่วโมง จะเท่ากับเครื่อง MARK I ทำงานประมาณ 1 สัปดาห์ แต่การสั่งงานและการควบคุมยังต้องใช้สวิตช์และแผงเสียบปลั๊กทางสายไฟ ทุกครั้งที่เครื่องทำงานจะทำให้หลอดไฟฟ้าทั้งหมดสว่างขึ้น เป็นผลให้เกิดความร้อน หลอดไฟจึงมักจะขาดบ่อย ต้องตั้งเครื่องไว้ในห้องที่มีการปรับอุณหภูมิห้องให้เพียงพอ ENIAC เริ่มใช้งานในปี ค.ศ. 1946 และใช้งานประมาณ 10 จึงเลิกใช้



ALAN TURING




ปี พ.ศ. 2474 เขาเข้าเรียนคณิตศาสตร์ ที่ คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (หมายเหตุ: ยุคนั้น คิงส์คอลเลจเป็นที่พักชายล้วน ซึ่ง ทัวริงก็อยู่อย่างเปิดเผยว่าเขาเป็นเกย์ และเข้าร่วมกิจกรรมชมรม) ทัวริงมีความสุขกับชีวิตที่นี่มาก และทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น พายเรือ, เรือใบเล็ก และ วิ่งแข่ง. ทัวริงพูดเสมอว่า "งานของผมนั้นเครียดมาก และทางเดียวที่ผมจะเอามันออกไปจากหัวได้ก็คือ วิ่งให้เต็มที่" และเขาก็วิ่งอย่างจริงจัง จนได้ระดับโลก โดยที่ผลการวิ่งมาราธอนของเขา ชนะเลิศการแข่งขันของสมาคมนักกรีฑาสมัครเล่น ด้วยเวลา 2 ชั่วโมง 43 นาที 3 วินาที ในปี พ.ศ 2485 ซึ่งในการแข่งขันวิ่งมาราธอน
โอลิมปิก เมื่อ พ.ศ.2419 (ค.ศ. 1948) คนที่ได้เหรียญทอง ทำเวลาได้เร็วกว่าเขาเพียง 11 นาทีส่วนในเรื่องวิชาการ ในวงการคณิตศาสตร์ยุคนั้น รัสเซิลล์ (Russell) เสนอเอาไว้ว่า "mathematical truth could be captured by any formalism" แต่ยุคนั้น โกเดล โต้ว่า "the incompleteness of mathematics: the existence of true statements about numbers which could not be proved by the formal application of set rules of deduction". พอปี พ.ศ. 2476 ทัวริงก็ได้เจอกับรัสเซิลล์ แล้วก็ตั้งคำถาม พร้อมถกเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นมา ทำให้เขาสนใจ
ปี พ.ศ. 2477 ทัวริงก็จบจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง. ทางมหาวิทยาลัย ก็เลยเชิญเขาอยู่เป็น Fellow ด้านคณิตศาสตร์ต่อ (ส่วนใหญ่ Fellow ของเคมบริดจ์จะเป็นพวกที่จบปริญญาเอก แต่ทัวริงจบเพียงปริญญาตรี) ปี พ.ศ. 2478 ทัวริงไปเรียนกับ จอห์น ฟอน นอยมันน์ เรื่อง ปัญหาของการตัดสินใจ (Entscheidungs problem) ที่ถามว่า "Could there exist, at least in principle, a definite method or process by which it could be decided whether any given mathematical assertion was provable?" ทัวริงก็เลยมาคิดๆ โดยวิเคราะห์ว่า คนเราทำอย่างไรเวลาทำงานที่เป็นกระบวนการที่มีกฎเกณฑ์ (methodical process) แล้วก็นึกต่อว่า ว่าวางกรอบว่าให้เป็นอะไรซักอย่างที่ สามารถทำได้อย่างเป็นกลไก (mechanically) ล่ะ? เขาก็เลยเสนอทฤษฏีออกมาเป็น "The analysis in terms of a theoretical machine able to perform certain precisely defined elementary operations on symbols on paper tape". โดยยกเรื่องที่เขาคิดมาตั้งแต่เด็กว่า 'สถานะความคิด' (state of mind) ของคน ในการทำกระบวนการทางความคิด มันเกี่ยวกับการเก็บ และเปลี่ยนสถานะจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนี่ง ได้ตามการกระทำทางความคิด, โดยทัวริงเรียกสิ่งนี้ว่า คำสั่งตรรกะ (logical instructions). แล้วก็บอกว่าการทำงานต้องมี กฎเกณฑ์ที่แน่นอน (definite method) (ซึ่งเป็นชื่อแบบดูเข้าใจง่ายเลยนะ แต่ยุคหลังถูกเปลี่ยนมาเรียกเป็นทางการว่า ขั้นตอนวิธี)
พอปี พ.ศ. 2479 เขาก็เลยเตรียมออกบทความวิชาการที่มืชื่อเสียง "On Computable Numbers with an application to the Entscheidungsproblem" แต่ก่อนเขาออกบทความนี้ มีอีกงานของฝั่งอเมริกาของ Church ออกมาทำนองคล้ายๆ กันหัวข้อเหมือนๆ กันอย่างบังเอิญ เขาเลยถูกบังคับให้เขียนอิงงาน Church ไปด้วย (เพราะบทความเขาออกทีหลัง) แต่พอบทความเขาออกมาจริงๆ คนอ่านก็เห็นว่าเป็นคนละทฤษฏีกันและของเขามีเนื้อหา relied upon an assumption internal to mathematics แม่นกว่า การเน้นเรื่อง operation ใน physical world. (ยุคต่อมาคนก็เลยนำ concept เขาไปประยุกต์ใช้และอ้างชื่อให้เกียรติว่า Turing machine, the foundation of the modern theory of computation and computability -- ทำให้หลายๆ คนตั้งให้ แอลัน ทัวริง เป็น The Founder of Computer Science หรือ ผู้ริเริ่มศาสตร์คอมพิวเตอร์) ปลายปีนั้นเองเขาก็ได้รับรางวัล Smith's prize ไปครอง
แล้วเขาก็ไปทำปริญญาโท และปริญญาเอกต่อ ที่ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ซึ่งสงบเงียบตัดห่างจากผู้คน แล้วก็ออกบทความว่า โลกทางความคิด กับ โลกทางกาย น่ะ มันเชื่อมถึงกันได้ ผ่านออกมาด้วยการกระทำ (ในยุคนั้นคนยังไม่คิดแบบนี้กัน) แล้วก็เสนอความคิดออกมาเป็น Universal Turing Machine (เครื่องจักรทัวริง) ในยุคนั้นยังไม่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ แต่เรียกว่าเป็นเครื่องคำนวณที่สามารถป้อนข้อมูลได้ ต่อมาทัวริงก็สร้างเครื่องเข้ารหัส (cipher machine) โดยใช้รีเลย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สำหรับการคูณเลขฐานสอง หลังจากเขาสำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยปรินซ์ตันก็เสนอตำแหน่งให้เขา แต่เขาตัดสินใจกลับเคมบริดจ์ เลยทิ้งทีมเพื่อนๆ ไว้และ จอหน์ วอน นอยแมน ก็เข้ามาสานต่อพอดี




KONRAD ZUSE


                     ค.ศ. 1941 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ    ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer

 

PROF.HOWARD H.AIKEN




                   1937 : โฮเวิร์ด เอช ไอเคน (Professor Howard H. Aiken) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องคำนวณตามหลักการของแบบเบจได้สำเร็จ โดยนำเอาแนวคิดของ Jacquard และ Hollerith มาใช้ในการสร้างและได้รับการสนับสนุนจากวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1943 ในชื่อว่า Automatic Sequence Controlled Calculator (ASCC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า MARK I Computer นับเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งเครื่อง จัดเป็น Digital Computer และเป็นเครื่องที่ทำงานแบบ Electromechanical คือเป็นแบบ กึ่งไฟฟ้ากึ่งจักรกล
         การส่งคำสั่งและข้อมูลเข้าไปในเครื่อง ใช้เทปกระดาษเจาะรู เครื่องมีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ประมาณ 7 แสนชิ้น ใช้สายไฟยาวกว่า 500 ไมล์ ความยาวเครื่อง 55 ฟุต สูง 8 ฟุต กว้าง 3.5 ฟุต ใช้เวลาในการบวกหรือลบประมาณ 1/3 วินาที การคูณ 5 วินาที การหาร 16 วินาที นับว่าช้ามากถ้าเทียบกับปัจจุบัน เครื่อง MARK I ถูกนำมาใช้ทำงานตลอดวันตลอดคืนนานถึง 15 ปีเต็ม MARK I ยังไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามแนวความคิดในปัจจุบันอย่างแท้จริง เป็นเพียงเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในขณะนั้น




DR.JOHN V. ATANASOFF & CLIFFORD BERRY


           
Dr. John Vincent Atanasoff และ Clifford Berry ได้ประดิษฐเครื่อง ABC (Atanasoff-Berry Computer) โดยใช้ หลอดสูญญากาศ (vacuum tubes)


           ปี พ.ศ. 2483 Dr.John W. Mauchy และ J. Presper Eckert Jr. ได้ร่วมกันพัฒนา electronic computer โดยอาศัยหลักการออกแบบบนพื้นฐานของ Dr. Atanasoff electronic computer เครื่องแรกมีชื่อว่าENIAC แม้จะเป็นelectronic computer แต่ENIACก็ยังไม่สามารถเก็บโปรแกรมได้(stored program) จึงได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDVAC ซึ่งอาศัยหลักการ stored program สมบูรณ์และได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDSA   C และท้ายสุดก็ได้พัฒนาเป็นเครื่อง UNIVAC(Universal Automatic Computer) ในเวลาต่อมา




DR.JOHN W.MAUCHLY & J.PRESPER ECKERT


                     ค.ศ. 1951 คอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานได้อย่างครอบคลุม มีชื่อว่า
The UNIVAC I (The Universal Automatic Computer I) โดยมี Dr.John W. Mauchly และ J. Presper Eckert,Jr. เป็นผู้พัฒนาขึ้นมา จัดเป็นยุคของคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (ค.ศ. 1951-ค.ศ.1959)
UNIVAC (Universal Automatic Computer)




DR.JOHN VON NEUMANN



                    เขาเรียนจบปริญญาเอกสาขาคณิตศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยบูดาเปส ประเทศฮังการี ตอนอายุ 23 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1926 ถึง 1930 เขาทำงานเป็น "อาจารย์อิสระ" ("Privatdozent" เป็นตำแหน่งในระบบมหาวิทยาลัยยุโรป สำหรับผู้ที่ต้องการจะเป็นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย ตำแหน่งนี้ไม่มีเงินเดือนประจำ) โดยในขณะนั้นเขาเป็นอาจารย์อิสระที่อายุน้อยที่สุดมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี 
                    ในปี ค.ศ. 1930 นอยมันน์ได้รับเชิญให้ไปยังเมืองพรินซ์ตัน, รัฐนิวเจอร์ซีย์ และได้เป็นหนึ่งในหกบุคคล (J. W. Alexander, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, Marston Morse, Oswald Veblen, จอห์น ฟอน นอยมันน์ และ Hermann Weyl) ที่ถูกคัดเลือกเพื่อเป็นอาจารย์ประจำชุดแรกของ Institute for Advanced Study เขาเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ที่นั่น ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสาขาวิชา
                     ในปี ค.ศ. 1933 จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตเขา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอยมันน์ได้มีส่วนร่วมใน โครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project) ซึ่งเป็นโครงการสร้างระเบิดปรมาณู
ช่วง
                      ค.ศ. 1936 จนถึง 1938 แอลัน ทัวริง ได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปที่สถาบัน และเรียนจบปริญญาเอก โดยมีนอยมันน์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา การไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนครั้งนี้ของทัวริง เกิดขึ้นหลักจากที่เขาได้ดีพิมพ์บทความวิชาการ "On Computable Numbers with an Application to the Entscheidungs-problem"
                      ในปี ค.ศ. 1934 ได้ไม่นาน. งานตีพิมพ์นี้ เกี่ยวข้องกับ หลักการของ logical design และ universal machine. ถึงแม้จะเป็นที่แน่ชัดว่า นอยแมนรู้ถึงแนวความคิดของทัวริง แต่ก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เขาได้ใช้หลักการของทัวริง ในการออกแบบเครื่อง IAS ที่ถูกสร้างในเวลา 10 ปีต่อมา
นอยมันน์นั้น ได้รับการขนานนามว่าเป็น บิดาของทฤษฎีเกม (game theory). เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ Theory of Games and Economic Behavior โดยร่วมเขียนกับ Oskar Morgenstern ในปี ค.ศ. 1944 เขาได้คิดหลักการ "MAD" (mutually assured destruction) อาจแปลไทยได้เป็น "รับรองได้ว่าเจ๊งไปด้วยกันทั้งคู่แน่" ซึ่งเป็นหลักการซึ่งใช้เป็นหลักสำคัญ ในการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านอาวุธนิวเคลียร์ของอเมริกา ในช่วงสงครามเย็น  นอยมันน์เป็นคนคิด สถาปัตยกรรมแบบ ฟอน นอยมันน์ ซึ่งใช้กันในคอมพิวเตอร์ (แบบที่ไม่ได้ประมวลผลแบบขนาน) ส่วนใหญ่ พูดได้ว่า คอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดในโลกนี้ เป็นเครื่องจักรแบบ ฟอน นอยมันน์ เขาเป็นผู้ริเริ่มสาขา cellular automata และได้สร้างตัวอย่างชุดแรกของ self-replicating automata โดยใช้แค่กระดาษกราฟ กับ ดินสอธรรมดาๆ (ไม่มีคอมพิวเตอร์ช่วยเลย) คำว่า เครื่องจักรแบบ ฟอน นอยมันน์ ยังหมายความถึง เครื่องจักรที่สร้างตนเองซ้ำได้ (self-replicating machine)




DR.TED HOFF



ดร. เท็ด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff) แห่งบริษัทอินเทล (Intel Corporation) ได้พัฒนาชิพที่มีขนาดเล็กมาก จึงได้ชื่อว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ชื่อรุ่นคือ Intel 4004 เป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมได้ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพขนาดเล็กนี้เจึงถูกรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย






STEVE JOBS & STEVE WOZNIAK



ปี 1970 วอซเนียกได้รู้จักกับสตีฟ จ๊อบส์ เนื่องจากมีงานฤดูร้อนในธุรกิจ
เดียวกัน และกลายเป็นเพื่อนกันในที่สุด จ๊อบส์และวอซเนียกได้ขาทรัพย์สิน
บางส่วนได้เงินประมาณ 1,300 เหรียญ และได้ร่วมกันประกอบคอมพิวเตอร์
ต้นแบบซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของแอปเปิ้ล

1 เมษายน 1976 จ๊อบส์และวอซเนียกก็ได้ก่อตั้ง Apple Computer โดย
ที่วอซเนียกได้ลาออกจากงานของเขาที่ Hewlett-Packard และทำงานใน
แผนกการวิจัยและการพัฒนาที่แอปเปิ้ล ผลิตภัณฑ์แรกของพวกเขาคือให้
คอมพิวเตอร์ Apple I ในยุคที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะใช้ในเชิง
พาณิชย์ โดยจ๊อบส์และว๊อซเนียกได้ขายคอมพิวเตอร์ 100 เครื่องแรกให้
กับ Paul Terrell ในการเปิดร้านคอมพิวเตอร์ใหม่ที่มีชื่อว่า Byte Shop ใน
เมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย

ปี 1980 แอปเปิ้ลเป็นที่โด่งดังและทำให้จ๊อบส์และวอซเนียกกลายเป็นมหา
เศรษฐี โดยสตีฟ จ๊อบส์ได้อนุญาตที่จะให้พนักงานบางส่วนของได้ซื้อหุ้น
ของ Apple ดั้งนั้นวอซเนียกจึงตัดสินใจที่จะแบ่งหุ้นส่วนหนึ่งของตนออกไป

ปี 1983 เขาตัดสินใจกลับไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับแอปเปิ้ล แต่เขาไม่ต้อง
การบทบาทในบริษัทฯมากไปกว่าของวิศวกรคอมพิวเตอร์

วอซเนียกได้สิ้นสุดการเป็นพนักงานจ้างเต็มเวลากับ Apple ในวันที่ 6
กุมภาพันธ์ 1987 เป็นเวลากว่า 12 ปีหลังจากการก่อตั้งบริษัท แต่ถึงกระ
นั้นเขาก็ยังเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริหารบริษัท





BILL GATES




                ในปี ค.ศ. 1994 บิลล์ เกตส์ได้ม้วนกระดาษไลเชสเตอร์ ซึ่งรวบรวมงานเขียนของเลโอนาร์โด ดา วินชีมาไว้ในครอบครอง
และในปี ค.ศ. 2003 ได้นำม้วนกระดาษนี้ออกแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเมืองซีแอทเทิล

                ในปี ค.ศ. 1997 เกตส์ได้ตกเป็นเหยื่อของแผนการขู่กรรโชกทรัพย์อันแปลกประหลาด ของนายอดัม ควินน์ เพลตเชอร์
ชาวเมืองชิคาโก ซึ่งเกตส์ก็ได้ขึ้นให้การต่อศาลในการพิจารณาคดีดังกล่าว เพลตเชอร์ถูกตัดสินลงโทษเมื่อเดือนกรกฎาคม
                 ค.ศ. 1998 และถูกจำคุกเป็นเวลา 6 ปี ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 เกตส์ถูกนายโนเอล โกดังจู่โจมด้วยการ
ปาขนมพายหน้าครีมใส่ ระหว่างการไปปรากฏตัวที่ประเทศเบลเยียม'